วัดชัยฉิมพลี Watchaichimphli


ประวัติการสร้างวัด
ตามที่เล่าสืบกันมาว่า พระยาสีหราชเดโชชัย และคุณหญิงงิ้ว ผู้เป็นภรรยาได้ดำเนินการสร้างวัดขึ้น เมื่อประมาณ ปี พ.ศ.๒๓๘๙ โดยการบริจาคที่ดิน ๕๐ ไร่ เป็นที่สร้างวัด ครั้นแล้วได้ขนานนามว่า “วัดชัยฉิมพลี” เพื่อเป็นเกียรติอนุสรณ์ โดยใช้คำว่า “ชัย” และ “ฉิมพลี” ที่แปลว่า "ไม้งิ้ว" ซึ่งตรงกับชื่อภรรยา ต่อเติมเพื่อให้สอดคล้องกัน วัดชัยฉิมพลี ได้รับพระราชทานวิสุง คามสีมา เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๕ และได้ทำการผูกพัทธสีมาใหม่ ในปี พ.ศ. ๒๕๐๗

การศึกษาภายในวัด
การศึกษาพระปริยัติธรรมภายในวัดได้มีการเปิดสอนพระปริยัติธรรม ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๘๐ มาจนถึงปัจจุบันในด้านการศึกษาสายสามัญมีโรงเรียนประถมศึกษาในที่ดินเนื้อที่ ๖ ไร่ เปิดสอนเมื่อ พ.ศ.๒๔๘๐ มีโรงเรียนมัธยมศึกษา ในที่ดินเนื้อที่ ๑๔ ไร่ เปิดการเรียนการสอน เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๘

สถานที่ตั้ง
วัดชัยฉิมพลี ตั้งอยู่เลขที่ ๖๒ คลองบางแวก ถนนเพชรเกษม ซ. ๔๘ หมู่ ๖ แขวงบางแวก เขตภาษีเจริญ กรุงเทพฯ ๑๐๑๖๐ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกายมีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ ๑๒ ไร่ ๒ งาน
อาณาเขต
ทิศเหนือ ทิศใต ทิศตะวันตก ติดกับลำคลองบางแวกมีน้ำล้อมรอบ
ทิศตะวันออก ติดกับถนนเพชรเกษม ซอย ๔๘

พื้นที่ตั้งวัด เป็นที่ราบลุ่ม

ถาวรวัตถุภายในวัด
๑. อุโบสถ กว้าง ๑๐ เมตร ยาว ๓๑.๙๐ เมตร ลักษณะคล้ายเรื่อสำเภา สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๙ และได้บูรณะใหม่ภายหลัง
๒. กุฏิสงฆ์จำนวน ๑๒ หลัง เป็นอาคารตึก ๒ ชั้น ๔ หลัง ครึ่งตึก ๒ ชั้น ๔ หลัง อาคารไม้ ๔ หลัง
๓. ศาลาการเปรียญหลังเก่า (ศาลาริมคลอง)
๔. ศาลาการเปรียญหลังใหม่ ๒ ชั้น
๕. โรงเรียนพระปริยัติธรรม อาคาร ๔ ชั้น
๖. พระประธานในอุโบสถนามว่า “พระพุทธชัยมงคล” ปางมารวิชัย สร้างในสมัยรัตนโกสินทร์
หน้าตักกว้าง ๔๕ นิ้ว เจดีย์ ๒ องค์ ฐานกว้าง ๕ เมตร สร้างพร้อมกับการสร้างวัด

ลำดับเจ้าอาวาส
รูปที่ ๑ พระอธิการนิ่ม พ.ศ. ๒๔๕๕ – ๒๔๖๕
รูปที่ ๒ พระครูปัด ธัมมสโร พ.ศ. ๒๔๖๕–๒๔๗๒
รูปที่ ๓ พระอธิการเตียบ ฉันโท พ.ศ. ๒๔๗๒ – ๒๔๙๓
รูปที่ ๔ พระครูเล็ก ฐานจาโร พ.ศ. ๒๔๙๓ – ๒๕๐๒
รูปที่ ๕ พระครูวิมลคุณาธาร (วรรณะ เหมโก) พ.ศ. ๒๕๐๓ – ๒๕๔๓
รูปที่ ๖ พระครูสิทธิชัยวัฒน์ (เลิศรบ ปัญญาคโม) พ.ศ. ๒๕๔๔–ปัจจุบัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น